หมากรุกไทยกับการรบของพระเจ้ากรุงธนบุรี

 หมากรุกไทยกับการรบของพระเจ้ากรุงธนบุรี




การเล่นหมากรุกของชนชาติไทยนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล แต่ที่พอมีหลักฐานปรากฏก็เป็นสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ดังนี้


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยอยุธยา ในยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดถึงการเล่นหมากรุก แต่มีการอ้างอิงว่ามีการเล่นหมากรุกกันแล้วในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าพระราชสมภพที่ประเทศเนปาล แต่เกมนั้นอาจไม่ใช่หมากรุกเสียทีเดียว อาจเป็นเกมที่คล้ายกัน หลักฐานที่พอจะสันนิษฐานถึงการเล่นหมากรุกของคนไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ ก็คงมีแค่เรื่องเล่าที่คาดการณ์ว่านะจะมีเท่านั้น


สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าวัย 72 ปี ได้นำไพร่พลฝีมือดี มาบุกดินแดนไทย เมื่อปี พ.ศ. 2318 กำลังคน 35,000 ตั้งค่ายอยู่ที่เมืองสุโขทัย กางตำราพิชัยสงคราม SBO เริ่มกวาดต้อนเสบียงอาหารกักตุนไว้ ฝ่ายไทย พระเจ้ากรุงธนบุรี พระยาจักรี พระยาสุรสีห์ ทรงทราบถึงแผนการทางสงครามของพม่าเป็นอย่างดี แต่มีกำลังทหารในตอนนั้นเพียง 20,000 เท่านั้น จึงไม่ต้องการปะทะโดยตรง แต่ใช้แผนถอยเอาเชิง 2 ชั้น ชั้นแรก ตั้งกำลังอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ปกป้องเมืองเชียงใหม่ไว้ ตรึงกำลังของอะแซหวุ่นกี้ให้นานที่สุด ส่วนพระองค์เป็นทัพหลวงเคลื่อนไหวจู่โจมและลอบเผาเสบียงของพม่าทั้งกลางวันกลางคืน แผนในชั้นที่สองคือให้พระยาจักรีออกอุบายเอาปี่พาทย์ประโคม ยิงปืนใหญ่เปิดทางเข้าไปตั้งแต่เช้าจนค่ำ ส่วนพระองค์กับพระยาสุรสีห์ นั่งเล่นหมากรุกกันบนกำแพงเมือง ท้าให้อะแซหวุ่นกี้มาแข่งกันสักกระดาน


ด้วยพระปรีชาสามารถของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ใช้กลยุทธ์ในแนวการแข่งขันหมากรุก หลอกล่อ โจมตี อ้อมกำลังพล ดัดหลังพม่า ทำให้แม่ทัพงวยงง และแพ้ศึกไปในที่สุด และนั่นเป็นครั้งสุดท้ายของศึกใหญ่ระหว่างไทยกับพม่า หลังจากนั้นพม่าก็ไม่มาบุกรุกดินแดนไทยอีกเลย ทำให้แผ่นดินไทยสงบสุขมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์และผู้นำของไทยทรงโปรดปรานการเล่นหมากรุกนั่นเอง




ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  http://ctheritagefoundation.org